วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ใช่พญานาคหรือเปล่า



หลายท่านคงจะเคยเห็นภาพนี้เป็นอย่างดี ทหารแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา กับปลาน้ำลึกชื่อ oar fish ที่มักจะเข้าใจว่าเป็นพญานาค ภาพนี้ตีพิมพ์ซ้ำหลายต่อหลายครั้ง และยังพิมพ์เป็นโปสเตอร์ขนาดใหญ่วางขายทั่วไปในประเทศไทยและลาว มีผู้อ้างว่า รูปนี้ถ่ายเมื่อ วันที่ 27 มิ.ย. 2516 เมื่อทหารอเมริกันที่ตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศลาว จับสัตว์ชนิดหนึ่งได้ในแม่น้ำโขง ชาวลาวเรียกกันว่า "บางพยาบาภ" หรือนางพญานาค หรือ นางพยานาก ในภาษาลาว (Queen of Nagas) วัดความยาวได้ ประมาณ 7.80 เมตร ที่จริงแล้วก็คือ ปลาออร์" (Oarfish, Dragon of the Deep')






นานมาแล้วที่ชาวเรือเล่าลือถึง "มังกรทะเลลึก" (Dragons of The Deep) มีนิยายเก่าแก่บรรยายว่า "มังกรทะเลมีลำตัวยาวคล้ายงู หัวเหมือนม้า มีขนคอสีแดงดุจเปลวเพลิง" ชาวประมงเคยพบขณะแล่นเรือหาปลาในทะเล นักชีววิทยาค้นคว้าพบความจริงว่า ที่แท้แล้วคือ ปลาประหลาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปลาใบพาย หรือ ปลาริบบิ้น หรือ ปลาออร์ เป็นปลาน้ำลึก มีขากรรไกรยาว หน้าผากโหนกคล้ายม้า ตาโต ครีบบนหลังยื่นออกมายาวเลยหัว มีครีบพิเศษยื่นออกมาทั้งสองข้างของส่วนหัวคล้ายใบพาย และมีลำตัวแบน ปลาชนิดนี้หาดูยาก เพราะอาศัยในระดับความลึกถึง 3,000 ฟุต ส่วนใหญ่พบในสภาพที่ตายแล้ว เพราะถ้าพลัดหลงมาน้ำตื่น จะตายทันที พบตัวใหญ่ที่สุดยาวถึง 200 ฟุต แม้มีขนาดใหญ่โตอย่างไร แต่ก็ไม่เป็นอันตราย เพราะไม่มีเขี้ยวหรืออาวุธ แต่เป็นสัตว์โลกแสนสวยน่าดูมาก ดังนั้นที่มีผู้อ้างว่าจับปลาชนิดนี้ได้ที่แม่น้ำโขงจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นปลาน้ำเค็ม ซ้ำเป็นปลาน้ำลึกมาก ยืนยันได้ว่าปลาตัวนี้ ไม่ใช่พญานาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น